• Enter Slide 1 Title Here

    This is slide 1 description. You can replace this with your own words. Blogger template by NewBloggerThemes.com...

  • Enter Slide 2 Title Here

    This is slide 2 description. You can replace this with your own words. Blogger template by NewBloggerThemes.com...

  • Enter Slide 3 Title Here

    This is slide 3 description. You can replace this with your own words. Blogger template by NewBloggerThemes.com...

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Engineer วิศวกรรมศาสตร์ ความหมาย จุดประสงค์ ที่มาที่ไป และข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับ วิศวกรรมศาสตร์ 


วิศวกรรมศาสตร์  คือ ?

       

          วิศวกรรมศาสตร์ สั้นๆง่ายๆก็คือเป็นสาขาความรู้และ  วิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกต์ วิทยา  (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทาง  คณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทาง  ธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิด  ประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและ  ประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่อง  มือ, ระบบ และ กระบวนการ  เพิ่อการตอบสนอง  ต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและ  เชื่อถือได้


         





American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET)
ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้ ...

              วิศวกรรมศาสตร์คือการประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาตร์อย่างสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, หรือกระบวนการผลิต หรืองานเพื่อการใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้โดดๆหรือประยุกต์เข้าด้วยกัน หรือเพื่อการสร้างหรือใช้งานสิ่งเหล่านั้นด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ใช้งานอย่างหมดจด หรือเพื่อการพยากรณ์พฤติกรรมของสิ่งเหล่านั้นภายใต้สภาวะที่เจาะจง สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จักต้องคำนึงถึงความมุ่งหมายในการใช้งาน, ความคุ้มค่าในการปฏิบัติการ แลความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพยสินด้วย




ระเบียบวิธีทางที่ถูกหลักของวิศวกรรมศาสตร์ (*วิศวกรควรรู้ คุณจะได้นำพวกหลักการนี้ไปใช้อย่างถูกหลักการ*)

               วิศวกรจะประยุกต์ใช้ความรู้ในศาสตร์ทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์เพื่อการหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมต่อความต้องการ หรือเพื่อการพัฒนางานที่รับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น ในปัจจุบันนี้ วิศวกรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบในโครงการของตน ดังนั้น วิศวกรจำต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดวิชาชีพของตน ถ้าทางเลือกนั้นมีมากกว่าหนึ่งทางเลือก วิศวกรจำต้อง
วิเคราะห์ความแตกต่างของทางเลือกและตัดสินใจเลือกเอาทางเลือกที่เหมาะสมต่อความต้องการของปัญหามากที่สุด

วิศวกรคือ... นักมั่วอย่างมีหลักการ และนักสมมุติอย่างมีเหตุผล 

อันนี้มุขนะคับ ไม่ใช่หอยนะ มุขๆ 55+


(เครดิตมุข : สมาคมวิศวกรไทย)


                 หน้าที่ที่สำคัญที่สุดและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวิชาชีพวิศวกรก็คือการระบุ ทำความเข้าใจ และขยายความหมายของ"ข้อจำกัด"ในการออกแบบ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ได้ผล และเพียงแค่ความสำเร็จในเชิงเทคนิกนั้นยังไม่ถือว่าดีพอ หากแต่จะต้องบรรลุความต้องการที่เหนือไปจากขอบข่ายเชิงเทคนิกอีกด้วย "ข้อจำกัด"ในที่นี้นั้นอาจจะหมายถึง ทรัพยากรที่มี แรงงาน จินตนาการหรือเทคโนโลยีที่มี ความยืดหยุ่นสำหรับการปรับปรุงพัฒนาต่อ และปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคา ความปลอดภับ ความต้องการของตลาด ผลิตภาพ และสามารถใช้งานได้จริงในภาคสนามอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำความเข้าใจใน"ข้อจำกัด" วิศวกรจะต้องนำเอาความต้องการที่เจาะจงมาวิเคราะห์เพื่อสร้างขอบเขตซึ่งใช้งานได้จริงสำหรับการผลิตหรือปฏิบัติการ






ประวิติศาสตร์ ของ วิศวกรรมศาสตร์ (**ที่คุณควรรู้ !!!)

             แนวคิดทางวิศวกรรมศาสตร์นั้นมีปรากฏมาแต่ยุคโบราณกาลแล้ว นับแต่มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือพื้นฐาน เช่น ล้อ, รอก และคาน เครื่องมือประดิษฐ์เหล่านั้นถูกนิยามถึงในวิศวกรรมศาตร์ยุคปัจจุบันและถูกใช้ประโยชน์ในงานกลศาสตร์พื้นฐานเพื่อการพัฒนาเครื่องมือและวัตถุ

             คำว่า engineering ในภาษาอังกฤษ อันหมายถึงวิศวกรรมศาสตร์นั้น ถูกสร้างมาจากคำว่า engineer ซึ่งคำๆนี้สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึง ค.ศ. 1325 เมื่อคำว่า engine’er (อันมีความหมายว่า ผู้ใช้งานเครื่องจักร) นั้น เดิมทีหมายถึง "ผู้สร้างเครื่องจักรสำหรับใช้งานเพื่อการทหาร" ความหมายดังที่กล่าวมานั้น (ซึ่งความหมายนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว) คำว่า engine นั้นหมายถึงเครื่องจักรทางการทหาร หรืออาวุธนั่นเอง ตัวอย่างเช่นเครื่องยิงหินแคเทอพอลต์ หรือกล่าวโดยสรุปแล้ว แต่เดิมที วิศวกรคือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ในกองทัพนั่นเอง สำหรับคำว่า engine นั้นเอง มีความหมายที่เก่าแก่กว่านั้นอีกคือมาจากคำว่า ingenium ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่า "ความสามารถที่มีมาโดยกำเนิด" โดยเฉพาะหมายถึงความสามารถทางปัญญา เช่นความฉลาดในการประดิษฐ์

              ต่อมา เนื่องจากความรู้ในวิทยาการการออกแบบสิ่งก่อสร้างสำหรับพลเรือนเช่น สะพาน อาคารบ้านเรือนมีพัฒนาสูงขึ้น คำว่า Civil Engineer (วิศวกรรมโยธาในภาษาไทย) ( Civil แปลว่า พลเรือน) จึงได้ถูกบัญญัติใช้เพื่อการแยกแยะระหว่างวิศวกรผู้เชี่ยวชาญในงานก่อสร้างที่ไม่เกี่ยวกับการทหาร กับ วิศวกรที่ทำงานในสายงานวิศวกรรมการทหาร (ความหมายของคำว่าวิศวกรรมศาสตร์ หรือ engineering ที่ถูกใช้ในยุคนั้น ส่วนใหญ่ไม่ตรงกับความหมายที่ถูกใช้ในปัจจุบัน ยกเว้นแต่เพียงบางส่วนที่ยังคงความหมายเดิมมาจนปัจจุบัน เช่นหน่วยทหารช่าง


ยุคแต่ล่ะยุคของวิศวกรรมศาสตร์ (**น่าทึ่งกับความสามารถของวิศวกรรมศาสตร์และการพัฒนาอย่างชาญฉลาดของแต่ล่ะยุค !!)

           เกริ่น ๆ ! ยุคของวิศวกรรมศาสตร์นั้นแบ่งออกเป็นยุคสมัยด้วยกันคือ ยุคโบราณ  ยุคกลาง  ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา และในยุค ปัจจุบันนี้  ในแต่ล่ะยุควิศวกรรมศาสตร์พยายามที่จะใช้สมองอันชาญฉลาดและหลักการหลายๆอย่าง ของพวกเขา เพื่อพลักดัน คำว่า วิศวกรรมศาสตร์ ให้ก้าวหน้าและพัฒนาสิ่งแปลกใหม่ สิ่งที่เป็นไปไม่ได้แต่ทำให้เป็นไปได้ สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นแต่ทำให้มันเกิดขึ้น ด้วยสมองของวิศวกรรมศาสตร์  น่าทึ่งมากๆคับกับความสามารถแต่ล่ะยุคของวิศวกรรมศาสตร์ ตามไปอ่านกันคับน่าทึ่งจิงๆ  -- >  คลิก อ่านอย่างล่ะเอียดเกี่ยวกับ ยุคของวิศวกรรมศาสตร





            วิศวกรรมศาสตร์ หลายคนคิดว่าเข้าใจกับคำๆนี้ดีพอแล้ว แต่คุณแน่ใจมากแค่ใหนว่าคุณรู้ความหมายของวิศวกรรมศาสตร์  หลายๆคนที่กำลังอ่านบทความนี้อาจจะเป็นคนที่ไม่รู้ความหมายของ วิศวกรรมศาสตร์เลย หรือบางคนกำลังเรียนวิศวะแท้ๆยังไม่รู้เลยว่า คำนี้มันมีความหมายขนาดไหน ยิ่งไปกว่านั้นก็คือคนที่จบไปแล้วนี่สินะคับ จบวิศวกรรมศาสตร์แท้ๆ ไม่เคยรู้ความหมายและ ที่มา-ที่ไป ของคำว่า วิศวกรรมศาสตร์   ผมเชื่อว่าต้องมีหลายๆคนที่กำลังเรียนวิศวกรรมศาสตร์คนที่จบไปแล้วและได้ชื่อว่าเป็นวิศวกรรมศาสตร์แล้ว ไม่เคยรู้เลยว่าความหมายของมันลึกซึ้งและมีความหมายแค่ไหน ... 


ประวัติวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยของไทย 
( *** คนเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ต้องรู้!!)


เมื่อ 80 ปีก่อนหน้านี้ มีจุฬาที่เดียวที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ จึงไม่แปลกที่ทุกคนรู้จักจุฬาเป็นอย่างดี และใครที่เข้าเรียนได้ถือว่าเก่งมาก อีกไม่นานประมาณ 20 กว่าปีได้ เกษตรได้เปิดวิศวะเป็นแห่งที่สองเพื่อผลิตบัณฑิตวิศวะเพราะเมืองไทยขาดแคลน แต่ความเป็นที่ 1 ก็ยังคงเป็นจุฬา ต่อมาประเทศไทยมองเห็นว่าเมืองไทยควรจะมีสถาบันที่เปิดสอนทางด้านวิศวะโดยเฉพาะ จึงก่อตั่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า บางมดหรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนำร่อง ตามด้วยลาดกระบัง และพระนครเหนือ ทำให้มีผู้สนใจเข้าเรียนวิศวะ...   เพื่อความสดวกบทความมันยาวเกินไปผมเลยแยกมาใว้ที่นี้คับ ตามไปอ่านกันคับ ->>   ประวัติวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยไทย 





สาขาของแต่ล่ะสาขาของวิศวกรรมศาสตร์ (***น้องๆที่คิดจะเรียนวิศวกรรมศาสตร?ควรอ่านนะคับ !!)

วิศวกรรมศาสตร์นั้นคล้ายคลึงกับวิทยาศาสตร์ที่มีขอบข่ายกว้างขวางจนสามารถแตกแยกย่อยลงมาได้หลายสาขาย่อย และในแต่ละสาขาย่อยต่างก็มองตัวเองในสายงานต่างๆทางวิศวกรรม ถึงแม้ว่าในช่วงแรก วิศวกรจะถูกฝึกศึกษามาในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่หลังจากผ่านประสบการณ์งานในสายวิศวกรรมมาแล้ว วิศวกรผู้นั้นอาจจะมีความสามารถในการทำงานได้หลากหลายสาขา

โดยประวัติศาสตร์แล้ว วิศวกรรมสาขาหลักๆแบ่งได้ดังนี้
  • วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน - ออกแบบอากาศยาน อวกาศยาน และสิ่งที่เกี่ยวข้อง 
  • วิศวกรรมเครื่องกล - ออกแบบระบบเชิงกายภาพหรือกลศาสตร์ ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบกันกระเทือน 
  • วิศวกรรเคมี - ใช้หลักการทางเคมีในกระบวนการผลิตเคมีอุตสาหกรรม รวมไปถึงการค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงและวัสดุจำเพาะใหม่ๆ 
  • วิศวกรรมไฟฟ้า - ออกแบบระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด 
  • วิศวกรรมโยธา - ออกแบบและก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น รางรถไฟ ถนนหนทาง สะพาน ตึกและอาคารบ้านเรือน เนื่องด้วยพัฒนาการอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี 


*** วิศวกรรมสาขาใหม่ๆมีความสำคัญมากขึ้นและได้รับการพัฒนา เช่น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมแม็คคาทรอนิกส์ วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต นาโนเทคโนโลยี บางครั้ง สาขาใหม่นั้นก็เกิดขากการผสมผสานความรู้ของสาขาเดิมเข้าด้วยกัน

            การเกิดขึ้นใหม่ของสาขาทางวิศวกรรมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะถูกนิยามแบบชั่วคราว ในหลากหลายรูปแบบ หรือนิยามในฐานสาขาย่อยของสาขาที่มีอยู่แล้ว ช่วงว่างของความรู้นี้ เมื่อได้รับความสนใจศึกษามากขึ้น
            ก็จะได้รับการยกระดับให้เป็นสาขาใหม่ ตัวชี้วัดได้ตัวหนึ่งของการเกิดสาขาใหม่นั้นคือการตั้งสาขาวิชาหรือหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชื่อดัง สำหรับวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละสาขาที่มีปรากฏนั้น มักจะมีการเหลื่อมล้ำของความรู้ โดยเฉพาะในสาขาที่มีการประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์

--  สำหรับสาขาทางวิศวกรรมนั้น ได้ถูกแสดงในรายการข้างล่างนี้ นะคับ   --

(*** แนะนำน้องๆที่อยากเป็นวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนแต่ล่ะสาขา ควรคลิกที่สาขานั้นๆ  เพื่อไปอ่านข้อมูลและความหมายรวมไปถึงจุดประสงค์ของสาขานั้นๆ ต่อไป ***)
  • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 
  • วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ 
  • วิศวกรรมไฟฟ้า
  • วิศวกรรมโยธา 
  • วิศวกรรมอัตโนมัติ 
  • วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 
  • วิศวกรรมเคมี 
  • วิศวกรรมระบบสิ่งก่อสร้าง 
  • วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 
  • วิศวกรรมโทรคมนาคม 
  • วิศวกรรมชีวเวช (หรือ วิศวกรรมชีวการแพทย์) 
  • วิศวกรรมการผลิต 
  • วิศวกรรมเกษตร 
  • วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ 
  • วิศวกรรมดินและน้ำ 
  • วิศวกรรมขนส่ง 
  • วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ 
  • วิศวกรรมความปลอดภัย 
  • วิศวกรรมปิโตรเลียม 
  • วิศวกรรมปิโตรเคมี 
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์ 
  • วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ 
  • วิศวกรรมโลจิสติกส์ 
  • วิศวกรรมการเชื่อม 
  • วิศวกรรมเครื่องกล 
  • วิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด 
  • วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร 
  • วิศวกรรมเครื่องมือ 
  • วิศวกรรมวัสดุ 
  • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 
  • วิศวกรรมอาหาร 
  • วิศวกรรมสารสนเทศ 
  • วิศวกรรมสื่อสาร 
  • วิศวกรรมชายฝั่ง 
  • วิศวกรรมสมุทรศาสตร์ 
  • วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต 
  • วิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต 
  • วิศวกรรมระบบควบคุม 
  • วิศวกรรมการวัดคุม 
  • วิศวกรรมโลหการ 
  • วิศวกรรมอุตสาหการ 
  • วิศวกรรมสำรวจ 
  • วิศวกรรมเหมืองแร่ 
  • วิศวกรรมอวกาศยาน 
  • วิศวกรรมพลาสติก 
  • วิศวกรรมพอลิเมอร์ 
  • วิศวกรรมต่อเรือ 
  • วิศวกรรมการจัดการ 
  • วิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย
ข้างบนนี้รวมแล้ว 39 สาขา หรือ 40 สาขา ผมก็ไม่แน่ใจนับ 4 รอบล่ะ ฮ่าๆ อยู่ที่ 39,40 นี่แหละคับ 

(*** แนะนำน้องๆที่อยากเป็นวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนแต่ล่ะสาขา ควรคลิกที่สาขานั้นๆ  เพื่อไปอ่านข้อมูลและความหมายรวมไปถึงจุดประสงค์ของสาขานั้นๆ ต่อไป ***)







จุดประสงค์ของบทความนี้ ผู้นำเสนอบทความได้คาดหวังเล็กๆน้อยๆจากผู้อ่าน อยากจะฝากถึง ...
            รุ่นพี่ หรือ รุ่นน้อง หรือหลายๆรุ่นที่จบไปแล้ว รวมไปถึงอาจารณ์ที่ปรึกษา และอาจารณ์รายวิชาที่สอนวิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงน้องๆที่คิดจะเรียนวิศวะกรรมศาสตร์ ไม่ว่าสาขาไหนๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมศาสตร์ ผมอยากให้แชร์บทความนี้ให้กับคนรู้จักหรือคนรอบข้างที่ผู้นั่นได้มีบทบาทกับวิศวกรรมศาสตร์ อาจจะเป็นรุ่นน้องที่กำลังเรียนคณะนี้ หรือ พี่คณะที่ไม่เคยรู้ความหมาย รวมไปถึงอาจารณ์ที่ปรึกษาสาขานั้นๆ ให้รู้ถึงความหมายของมัน

            อยากจะย้ำกับรุ่นพี่วิศวะหลายๆคนช่วยให้รุ่นน้องหลายๆคนได้รู้ถึงความหมายและที่มาที่ไปของคำๆนี้ เพราะมันสำคัญกับรุ่นน้องและหลายๆคนมากๆเพราะบางคนเลือกเรียนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคณะที่ตนเองกำลังเรียนนี้เรียนไปเพื่ออะไร รู้สึกยังไงกับการเรียน

           สำหรับผมที่เรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์มา 7 เดือน ผมก็ไม่เคยรู้ความหมายที่แท้จริงของมันเลย สำหรับผมแล้ว 7 เดือนที่ผ่านมา ไม่ต่างอะไรกับเราปิดตากินข้าวหรอกคับ รู้รสชาติอาหารแต่ไม่รู้ว่าอาหารที่กินเข้าไปนั้น มันคืออะไร? มีประโยชน์หรือมีโทษกับเรากันแน่ ? เปรียบเสมือนคนเรียนวิศวกรรมศาสตร์ หรือ รุ่นพี่ที่จบไปแล้วได้ทำงานแล้วแต่ไม่เคยรู้เลยว่า วิศวกรรมศาสตร์ คืออะไร? ความหมายของมัน? ที่มาของมัน?  ...  

           มาคับ!!! หยุดปิดตากินข้าวคับสำหรับใครที่มีเพื่อนหรือ พี่-น้อง หรือคนรอบข้าง ที่เรียนหรือทำงานเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ แชร์เพื่อให้เขาได้รู้ถึงที่มาที่ไป จะได้หูตาสว่างและรู้สึกถึงอรรถรสของการใช้ชีวิตเกี่ยวกับคำๆนี้กันคับ วิศวกรรมศาสตร์ไทยเราจะได้พัฒนาสู้กับชาติอื่นๆต่อไป ^^'




<<รุ่นน้องที่คิดอยากเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ควรอ่านบทความนี้ด้วยนะคับ Click >>


          
จุดประสงค์ของบทความนี้ ผู้นำเสนอบทความได้คาดหวังเล็กๆน้อยๆมากๆ อยากจะฝากถึง ...
            
        รุ่นพี่ หรือ รุ่นน้อง หรือหลายๆรุ่นที่จบไปแล้ว รวมไปถึงอาจารณ์ที่ปรึกษา และอาจารณ์รายวิชาที่สอนวิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงน้องๆที่คิดจะเรียนวิศวะกรรมศาสตร์ ไม่ว่าสาขาไหนๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมศาสตร์ ผมอยากให้แชร์บทความนี้ให้กับคนรู้จักหรือคนรอบข้างที่ผู้นั่นได้มีบทบาทกับวิศวกรรมศาสตร์ อาจจะเป็นรุ่นน้องที่กำลังเรียนคณะนี้ หรือ พี่คณะที่ไม่เคยรู้ความหมาย รวมไปถึงอาจารณ์ที่ปรึกษาสาขานั้นๆ ให้รู้ถึงความหมายของมัน

         อยากจะย้ำกับรุ่นพี่วิศวะหลายๆคนช่วยให้รุ่นน้องหลายๆคนได้รู้ถึงความหมายและที่มาที่ไปของคำๆนี้ เพราะมันสำคัญกับรุ่นน้องและหลายๆคนมากๆเพราะบางคนเลือกเรียนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคณะที่ตนเองกำลังเรียนนี้เรียนไปเพื่ออะไร รู้สึกยังไงกับการเรียน

        สำหรับผมที่เรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์มา 7 เดือน ผมก็ไม่เคยรู้ความหมายที่แท้จริงของมันเลย สำหรับผมแล้ว 7 เดือนที่ผ่านมา ไม่ต่างอะไรกับเราปิดตากินข้าวหรอกคับ รู้รสชาติอาหารแต่ไม่รู้ว่าอาหารที่กินเข้าไปนั้น มันคืออะไร? มีประโยชน์หรือมีโทษกับเรากันแน่ ? เปรียบเสมือนคนเรียนวิศวกรรมศาสตร์ หรือ รุ่นพี่ที่จบไปแล้วได้ทำงานแล้วแต่ไม่เคยรู้เลยว่า วิศวกรรมศาสตร์ คืออะไร? ความหมายของมัน? ที่มาของมัน?  ...  

           มาคับ!!! หยุดปิดตากินข้าวคับสำหรับใครที่มีเพื่อนหรือ พี่-น้อง หรือคนรอบข้าง ที่เรียนหรือทำงานเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ แชร์เพื่อให้เขาได้รู้ถึงที่มาที่ไป จะได้หูตาสว่างและรู้สึกถึงอรรถรสของการใช้ชีวิตเกี่ยวกับคำๆนี้กันคับ วิศวกรรมศาสตร์ไทยเราจะได้พัฒนาสู้กับชาติอื่นๆต่อไป ^^'

Bookmark Us

Delicious Digg Facebook Favorites More Stumbleupon Twitter

Search